กัณฑ์ย่อยที่ ๑
เนื้องเรื่อง
อิติ สา วเร คเหตฺวา ตโต จุตา มทฺทรญฺโญ อคฺคมเหสี กุจฺฉิมฺหิ นิพฺพตฺติ ดูราสัปปุริสาทั้งหลายหมู่อันเข้ามาสู่โฮงธรรม จงเพียรจำจือไว้ ยังกัณฑ์อันต่อไปชื่อว่าหิมพานต์ สา ผุสฺสติ สวนดั่งนางคานผู้ประเสริฐอรรควรเลิศชื่อว่า ผุสดี วเร คเหตฺวา ฮับเอายังพรดีสิบสิ่งแต่สำนักเจ้าจอมมิ่ง อินฺทา จุตา คันว่ามารณาต จากปราสาทเมืองสวรรค์ นิพฺพตฺติ ก็เอาตนโดยพลันลงมาเกิดในท้องแห่งราชเทวีเป็นวรมเหสีแห่งพระยามัทราช คันถ้วนทสมาสบริบูรณ์ นางมุงคุลผู้ประเสริฐ ประสูติแล้วเลิศควรแยงนางกองแพงผิวละมัยเหมือนดั่งผายใส่ด้วยจุนแห่งแก่นจันทร์ ฝูงเผ่าพันธ์คื่นเค้าใส่ช่อเจ้าว่าศรีสุพรรณผุสดี จำเริญศรีขึ้นใหม่กับบ่าวไพร่บริวาร อายุนงคราญ 16 เข้ารูปของเจ้าเปรียบสาวสวรรค์มีแล อถ นํ สิวิมหาราชา เมื่อนั้นบั้นพระยาสีวิราชแต่งอามาตย์ ให้ไปโอม ยังนางสมสายผู้แวนยิ่งแก้วกิ่งผุสดี มาเป็นวรมเหสีแห่งท้าวสญชัยราช อันเป็นลูกพระบาทเจ้าสีพีวันนั้นแล อุสฺสเปตฺวา พระยาสิวิราชก็ให้ยกขึ้นยังเศวตฉัตร มอบยังราชศรีสมบัติแก่เจ้าสญชัยราชอุภิเษกนางน้อยนาถผุสดีให้เป็นเทวีผู้ล้ำเลิศประเสริฐกว่านางนักสนมก็มีแล สา ผุสฺสติ อันว่านางแก้วผุสดีเทวีผู้นั้น ปิยา เป็นที่ฮักล้ำยิ่งแก่เจ้าจอมมิ่งสญชัยแท้ดีหลี อถ สกฺโก ในกาละเมื่อนั้นบั้นอินทาธิราช พระบาทไท้หลิ่งหล่ำญาณ เห็นพร 9 ประการ สำเร็จแล้วแก่แก้วนางผุสดี นางเทวีขอลูกชายผู้ประเสริฐ เป็นพรเลิศอันถ้วน 10 ยังบ่ได้ควรกูให้สมประสงค์แท้ดีหลี พระภูมีอินทาเทวราช ตนเป็นอาจในสวรรค์ พระองค์ก็เสด็จไปโดยพลันสะภู่สู่ที่อยู่พระโพธิสัตว์ อันเชิญให้ลงมาอุบัติบังเกิด เอากำเนิดแห่งนางแก้วผุสดี สหสฺสานํ กับทั้งเทวบุตรอันเป็นบริวาร 6 หมื่น ให้ชื่นชมโมทนา ฮับอาสาลงมาเกิดเอากำเนิดในท้องภริยา แห่งเสนาอำมาตย์พระบาทเจ้าโพธิสัตว์ มีโสมนัสรับปฏิญาณ แห่งท้าวมฆวานเทวราช จุตา ก็อธิฏฐานลงมาเกิดเอากำเนิด ในท้องแห่งนางแก้วผุสดีราชเทวีมีแล เสสา เทวปุตฺตา เทวบุตรทั้งหลาย 6 หมื่น หลื่นกว่าโพธิสัตว์ ก็มาอุบัติ เอากำเนิดในท้องแห่งภริยาแห่งเสนาอามาตย์ ตามดั่งพระบาทเจ้าอินทาหากราธนาขอไว้ หากสำเร็จได้สู่ประการ แท้ดีหลี มหาสตฺโต ในเมื่อพระมหาสัตว์เจ้าตนประเสริฐเกิดในท้องแห่งพระราชเทวี โทหริณี นางเทวีก็มีคำปรารถนาให้สร้างศาลาทาน 6 แห่ง คือว่าให้ตั้งไว้ 4 แจ่ประตูเมือง และท่ามกลางเมืองกับทั้งระหว่างกลางถนนในตลาด นางก็ประสาทให้ยังทานแลวันละ 6 แสนคำบ่ขาด คันถ้วนทสมาสสิบเดือน บุญมาเตือนในนางนาถ ให้ยัวระยาดสู่โรงทาน ทุกสถานทั้ง 6 แห่ง เวสฺสนฺตรํ คันนางเสด็จไปถึงโรงทานในสถานกลางตลาด ลมกัมมะสวาทปั่นอุทรนางบวรจักประสูติพระโอรสา ฝูงเสนาทูลพระบาทบรมนาถเจ้าสญชัย พระก็ฮีบสั่งเสนาให้ฝั่งฟ้าวให้ปลูกเย้าพลับพลาทอง ในระหว่างท้องถนนกลางตลาดให้นางน้อยนาถประสูติพระวรบุตตา มหาสตฺโต พระบรมโพธิสัตว์ตนผ่านแผ่ว ประสูติแล้วแลมืนตา ปสาเรตฺวา เหยียดไปยังแขนเบื้องขวาบ่ช้า อ่วยหน้าต่อมารดา เจรจาดอมแม่ว่า ข้าแต่พระมารด จงกรุณาแก่ข้อย กิญฺจิ ธนํ ทรัพย์อันใดมีเล็กน้อย จงให้แก่ข้อย ยกเป็นทานแด่เทอญ
อถสฺส มาตา เมื่อนั้นพระราชมารดา ฮู้เจตนาแห่งลูกน้อย นางยอดสร้อยผุสดี เกิดปีติชมชื่นเงินคำยื่นหนักพอพัน ให้เอามาโดยพลัน ตั้งไว้เหนือมือพระวระแท่นไท้บุตตา อาห ก็กล่าวว่า ตาต ดูราเจ้าลูกฮักแม่ ใจเจ้าแผ่ปราณี ยินดีทานอย่าไว้ จงยกให้ตามศรัทธา ก็แม่เทอญ ด้วยมีแท้พระโพธิสัตว์ประสูติแล้วเจรจาดอมมารดามี 3 ชาติ คือเป็นท้าวราชมโหสถ แลมาปรากฏ เป็นเวสสันดรราช เป็นสิทธารถราชกุมารมีประมาณเท่านั้น ล้ำชาติอื่นหลื่นกว่านั้น อาจารย์เจ้า กล่าวไว้ว่าบ่ห่อนได้บ่ห่อนมีแท้ดีหลี อถสฺส นามคหนทิวเส ในกาลเมื่อนั้น ญาติกาทั้งหลายหมายว่า พระยาบรมศรีสยชัยเป็นเค้า จึงใส่ชื่อเจ้าว่าเวสสันดร เหตุพระภูธรประสูติกลางตลาด ตามโอกาสแห่งสัญญา เอกา อากาสจารณี กาเรณุกา ในวันประสูตินั้น แม่ช้างชั้นเดินเวหน นำลูกตนอันขาวพาวบริสุทธิ์ อันโลกหากสมมติว่าเป็นมุงคุลอันประเสริฐอันเกิดมาแต่แม่ช้างชาติตระกูล ฐเปสิ ก็มาตั้งไว้ในโองช้างแล้วแลหนีไป พระนงค์ไวโพธิราชให้ประกาศชื่อช้างตัวนั้นว่า ปัจจนะนาเคน เหตุว่าแม่ช้างเอามาเวนมอบให้ แลช้างตัวนั้นเป็นที่ไหว้ที่บูชาแห่งชาวนครา ทุกเมื่อแท้ดีหลี
กัณฑ์ย่อยที่ ๒
เนื้อเรื่อง
ราชา เมื่อนั้น พระยาบรมศรีสญชัยตนพ่อ ตั้งหูต่อฟังสาน์นแห่งเจ้ากุมารเวสสันตราช กับทั้งลูกอามาตย์หมู่เสนา สังขยาว่าได้ 6 หมื่น ก้ชมชื่นเบิกบานใจ พระก็ให้ไปหามายังนางนมผู้ประเสริฐมีรูปโฉมอันล้ำเลิศ มีน้ำนมอันหวาน มาพระราชทาน 6 หมื่น มีพระเวสสันดรกุมารเป็นเค้าพระก็เลื้ยงลูกเต้าอย่างถนอมแพง พระให้แปลงเครื่องประดับประดาแก่พระโอรสาบ่ต่ำ ควรค่าว่าได้แสนคำ พระเวสผู้ทรงธรรมโพธิราชประสาทให้เป็นทาน แห่งนักการคือแม่นมรับไว้ แม่นมได้แล้วเล่าถวายคืน เจ้าบ่ขืนฮับไว้ แม่นมจึงขึ้นกราบไหว้พระวรปิตตา พระราชาอนุญาต พระบาทเจ้าอนุโมทนา พระวรปิตตาก็ให้แต่งเครื่องประดับอันใหม่ ให้ลูกตนใส่ควรแยง เป็นของแพงยิ่งยอด ฮอดหนึ่งค่าแสนคำบ่ผิดแผก พระโพธิสัตว์เจ้าได้แล้วแจกเป็นทาน มีประมาณได้ 9 ครั้ง บ่ผิดพลั้งตามคาถา นั้นแลนา อฏฺฐวสฺสิกกาเล ในเมื่อเจ้าจำเริญใหญ่ขึ้นมาได้ 8 ปี บ่ผิดบ่พรั้ง นั่งเหนือแท่นแก้วฮ่ำเพิงแล้วอยากโอยทาน ยังอัชฌัตติกทานอันยิ่ง พระตนแก้วจึ่งฮำเพลิงว่า พาหิรกทานของภายนอก กูเก็บออกอ่วยโอยทานบ่กินแหนง ส่วนของแพงคือกายเนื้อ ตนกูบ่ไว้ ยาจกมักใคร่ได้ยังตา กูก็จักควักลูกตาออกให้ มักใคร่ได้ยังหมากหัวใจ กูก็จักสละไปเพิกออกให้ อยากได้ชิ้นเนื้อกูก็จักเถือออกตามประสงค์ อยากได้องค์กูไปเป็นข้อย กูก็จักสั่งสอนให้เรียบร้อย ไปเป็นข้อยบ่ขัดขืน แท้ดีหลี ในเมื่อพระโพธิสัตว์ ตนวิเศษตั้งจิตเจตปรารถนา มีความจินดาฮ่ำหลิง อัชฌัชติกทานอันยิ่ง แลมีดั่งนั้น บั้นมหาปฐวีอันหนาสังขยาว่าได้ 2 แสน 5 หมื่นโยชน์คัณนะนา อุณฺนาเทตฺวา ก็ขำเขือกย้อนสะท้อนหวั่นไหวไปมา สิเนรุ ปพฺพต ราชาเขาพระสุเมรุใหญ่อ่อนน้อม เขายุคันธรอ่อนนวยนาย คือดั่งยอดหวายอันเล่นไฟกวยกดแก่ง เทโว อันว่าฝนบ่ไซ่ระดูตก ก็มาตกอยู่ชะสู่ ชะสู่ วิชุลตา สายฟ้าบ่ใช่ระดูแมบ ก็มาแมบ สวัสเสวียงเสียงบันลือสนั่นก้องนันทั่วท้องปฐพี มหานที สมุทรหลวงเฟือนฝั่ง เป็นคลื่นหลั่งไหลนอง เป็นฟองใหลยะเยือกขำเขือกฮ้องสาธุการ ชื่นชมต่อเจตนาทานอันวิเศษ แห่งพระเวสสันดรเจ้าหน่อพุทธังกูล สกฺก เทวา อันว่าเทวดาทั้งหลายมวลมาก อยู่ฟากฟ้าหกสวรรค์ ยอมือพลันใส่เกล้า อินทา พรหมเจ้า พระยามาร สาธุการเยี่ยมผ่อ ตั้งหน้าต่อ อนุโทนา เอกโกลาหลํ เสียงอุกขลุกมีนันเกื่อนก้อง ทั่วประเทศท้องจักรวาฬ มีอาการอันหนึงอันเดียวกัน ด้วยเดชพระจอมทันเวสสันตราช มักใคร่จักประสาท อัชฌัชติกทาน วันนั้นแล อถ มหาสตฺโต เมื่อนั้นบั้นพระโพธิสัตว์ตนวิเศษ อายุล่วงเข้าเขต 16 ปี มีศาสตร์ศิลป์ดีจบไตรเพท ฮู้แจ้งเจตประเพณี พระภูมีตนเป็นพ่อ มักใคร่ให้ลูกแก้วหน่อสืบแทนเมือง พระบุญเฮือง สญฺชยราช พระบาทเจ้าพร้อมเทวี ผุสดีตนเป็นแม่ ให้หามายังสะใภ้แก่พระภูธร เวสสันดรตนเป็นลูก มักใคร่ปลูกแทนเมืองพระบุญเฮืองจึ่งให้มานำเอามายังนางกัลยาผู้วิเศษ แต่ประเทศมัททราชมหากษัตริย์ ชื่อว่านางมัทรี ตามคัมภีร์กล่าวไว้ ว่านางแก้วแก่นไท้เป็นลูกป้าแห่งนางแก้วยอดฟ้าผุสดีกัลยาณี นางมัทรีนั้นโสด บ่สูง บ่ต่ำ บ่ก่ำ บ่ขาว พอดี พองาม ทุกแห่ง โฉมเจ้าแข่งสาวสวรรค์ ให้นำมาโดยพลันอย่าช้า อุภิเษกสองเจ้าฟ้าขึ้นเสวยเมือง ให้เป็นพระยาแหล่งหล้าเจ้ายอดฟ้าชื่อว่าพระยาเวสสันดรกับทั้งทวยนิกร 6 หมื่น เกิดพร้อมชื่นตามกันมา ให้เป็นเสนาแลอามาตย์ พระบาทเจ้าอยู่สำราญ ให้ยังทานวันละ 7 แสนคำบ่ขาด พระบาทเจ้าตนบุญมี ขึ้นขี่วรหัตถี ปัจจะยะนาเคนตัวองอาจ เสด็จยัวระยาดไปเยี่ยมผ่อศาลาทานมีประมาณเดือนละ 7 ถี่ บ่หยุดย่อนก็มีแล อปรภาเคน เบื้องหน้าแต่นั้นบั้นนางแก้วราชมัทรี วิชายิ ก็ประสูติ พระราชบุตอุตตมะเสน่หา ญาติการับเอากุมารด้วยข่ายคำ จำนำมาเป็นชื่อถือเอาเป็นนิมิตว่าเจ้าชาลีราชกุมาร บ่มีนานพอประมาณลุกย่างไปมาได้ แห่งท้าวแก่นไท้ชาลี วิชายิ นางราชมัทรี ก็ประสูติอีกยังลูกยิงผู้แวนยิ่ง พระวรญาติลิ่งฮับด้วยหนังหมี ถือว่าของดีเป็นนิมิต จึงกิตตนาให้ชื่อว่านางกัณหา อันพระราชาเวสสันดรเจ้า มีลูกเต้าหน่อสององค์ อันทรงฮูปโฉมงามชื่นช้อยเป็นที่ฮักคีค้อย คีค้อย แก่พระวรปิตตามารดาก็มีแล อปรภาเค เบื้องหน้าแต่นั้น บั้นพระยาเวสสันดรภูมีเจ้าแผ่นดินตนองอาจ เสวยราชอยู่เย็นใจ ฝูงไพร่ไทยยอย่อง ฮ้อยประเทศท้องนครา ส่งบรรณาการมาบ่ขาด ด้วยอำนาจบารมีเป็นเค้า ยูท่างเจ้าโอยทานก็มีแล
กัณฑ์ย่อยที่ ๓
เนื้อเรื่อง
ตทา กาลิงครฏฺเฐ ทุวุฏฺฐกา ในกาลนั้นเมืองกลิงคราชฝนบ่ตกขาดแห่งข้าวตายแล้วทั่วเมือง ความแค้นเคืองทุกข์ยาก อึดอยากเข้าปล้นชิงกันขับข้อน เกิดเดือดฮ้อนป่วนไปมา ชาวพาราฮ้อนไหม้ชวนกันใดเหลือหลาย ย่ายกันไปเป็นหมู่ เข้าไปสู่หน้าคุ้มราชเวียงหลวง ตีอกท้วงฮ้องไห้ ในที่จิ่มใกล้ประเวียงมีแล ตทา ในกาลนั้น บั้นกษัตริย์ตนองอาจ เจ้ากลิงคราชภูมี พระนรินทร์ถามหาเหตุ เกิดสมเพทเวทนา เห็นชาวนครเดือดฮ้อน จึงผันพ่อนจำศีลสิ้น 7 วันจีไจ้ ก็บ่าจไห้ฝนตกได้ตั้งใจหมาย จึงหาอุบายปรึกษาเสนาอามาตย์ว่า เฮาพระบาทบ่สามารถให้ฝนตก สูจงช่อยยกออกปัญญา ให้เฮาพระราชาฮู้เหตุ อุปเทศให้ฝนตก แด่เทอญ
อถ ถัดนั้น บั้นอามาตย์ผู้ฉลาดกราบทูลสาส์น ว่า เทว ข้าแต่พระภูบานตนอยู่เกล้า ข้าเฒ่าไหว้สมภาร อันว่าช้างพลายสารเผือกแก้ว ตัวเลิศแล้วชื่อปัจจัย อันเป็นลูกพระยาศรีสญชัยชื่อว่าเวสสันตราช เป็นช้างอาจมุงคุล ช้างตัวนั้นไปในที่ใด ฝนก็ตกลงมาในที่นั้น ในแห่งฮั้นบ่สงกาแท้ดีหลี ตวํ อันว่าพระภูมีตนยศใหญ่ เปเสหิ ก็จงใช้ไปยังพราหมณ์คณาจารย์ผู้จบไตยะเพท ขอเอาช้างวิเศษมาเมืองก็ข้าเทอญ โส เวสฺสนฺตโร อันว่าพระยาเวสสันดรเจ้าตนนั้น ทานภิรโต อันภิรมย์ชมชื่นยินดีในทานบารมีจีไจ้ไผขอให้สู่ประการ ก็ข้าแล อถ ถัดนั้น บั้นพระภูบานกลิงคราช พระบาทเจ้าให้ทันมา ยังอัฏฐาพรามณาผู้จบไตรเพท ผู้วิเศษด้วยโวหาร มีประมาณ 8 คน รามปมุโข มีรามพราหมณ์เป็นหัวหน้า ไปบ่ช้าฮีบเร็วพลัน พระจอมทันประสาทให้ เสื้อผ้าใส่เครื่องเงิน คำจำหน่ายเดินทางไปบ่ช้า จำเพราะหน้าสู่เมืองอันชื่อว่าประเซไซ พราหมณ์เดินไปบ่หยุดบ่หย่อน บ่ผักผ่อนให้เสียกาล ให้เถิงสถานเวียงราช อันเป็นเมืองพระบาทเจ้าเวสสันดร พราหมณ์โคจรไปยั้งพักอยู่ศาลาทาน โภชนํ กินอาหารเป็นเค้า นั่งอยู่เฝ้าศาลาก็มีแล ปุนทิเวเส ในวันลุนฮุงเช้า พราหมณ์กินเข้าที่โรงทาน ในสถานด้านตะวันออก ยืนอยู่ข้างขอกแห่งศาลา คอยท่าพระกษัตตา จักขอเอาช้างแก้ว เมื่อนั้น บั้นพระยาเวสสันดรตนผ่านแผ่วภูมีเจ้าแผ่นดินสิพิราช เสด็จจากอาสน์บรรทม ชำระองค์สรงเกล้าเกษ ทรงเพทแต่งกายา เสวยโภชนะอาหาร มีประการหลายสิ่ง เจ้าจอมมิ่งราชา ให้มาหายังช้างแก้ว เสด็จขึ้นแล้วนั่งเหนือหลัง คนยายยังตามหลังแลก่อนหน้า แห่เจ้าฟ้าไปเยี่ยมผ่อศาลาทาน เสด็จไปเถิงสถานศาลาก้ำตะวันออก พราหมณ์อยู่ขอกกล้ำมัคคา เห็นพระยามาเถิงในที่ใกล้ ยกมือไหว้อวยพรว่า ชยตุ ภวํ ชยตุ ภวํ มหาราช ดังนี้เป็นเค้า ข้าไหว้เจ้าตนบุญมาก ปราศจากโรคภัย ขอให้มหาราชเจ้า มีชัยชนะผาบแพ้แก้ศึกศัตรู ทั้งภายในแลภายนอก เขตขอกขันธสันดาน ก็ข้าเทอญ มหาสตฺโต เมื่อนั้นบั้น พระโพธิสัตว์ เห็นพราหมณ์ยืนเรียงลัดอ่วยโอยพร พระก็ให้หยุดคันไชนอนถามหาเหตุ ว่าดูราพราหมณ์ทั้งหาย ผู้มีขนรักแร้แลเล็บอันยาว ปงฺกทนฺตา มีแข่วอันขาว กึ มํ ยาจนฺติ สูมัคไคร่ขอยังวัตถุเยื่องใดแก่เฮาพระองค์ สูจงขอตามประสงค์ยังวัตถุเยื่องนั้น อย่าเกรงกลัวเท่าวันเทอญ
กัณฑ์ย่อยที่ ๔
เนื้อเรื่อง
พรามฺณา เมื่อนั้นบั้นพราหมณ์ทั้งหลาย อาหํสุ ก็กราบทูลบรมไอสูรโพธิราช ด้วยอาทิบาทคาถาว่า รตนํ เทว ยาจาม ดังนี้เป็นเค้า เทว ข้าไหว้มหาราชเจ้า ฝูงข้อยเฒ่าเฝ้าขอทานยังช้างสารตัวขาวพราวล้ำเลิศ ตัวประเสริฐเป็นมุงคุล เกิดกับบุญเจ้ายอดฟ้า ในแหล่งหล้าสีพีนี้ก็ข้านา ตวํ อันว่าพระบรมนาถจงประสาทให้เป็นทาน เพื่อให้ได้เรียงลัดตัดผะหยา สัพพัญญุตตญาณเมื่อหน้า ก็ข้าเทอญ ตํ สุตฺวา มหาสตฺโต พระบรมโพธิสัตว์ตนบุญมาก ได้ยินเสียงออกปากแห่งฝูงพราหมณ์ ขอช้างงามตัวประเสริฐ เจ้าก็บังเกิดชื่นชมบาน ฮ่ำเพิงเถิงอัชฌัตติกทานอยู่จีไจ้ ว่าบัดนี้ พราหมณ์อยากได้ของภายนอก บ่เป็นสัง อหํ อันกูจักให้ทานไปบ่ไว้ ให้สมดั่งความอยากได้แห่งฝูงพราหมณ์ แลนา เจ้ามีพระราชจินดาดังนี้แล้ว พระตนแก้วจึ่งหลั่งน้ำใส่มือพราหมณ์ มอบช้างงามตัวแวนยิ่ง ตัวเป็นมิ่งแก่สีพี เป็นช้างดีตัวประเสริฐเป็นช้างเลิศมุคุล เกิดกับบุญภูวนาถ พระบาทเจ้าให้เป็นทานดั่งนี้แล้ว พระแก้วจึ่งบอกกล่าวแก่ฝูงพราหมณ์ว่า อมฺโภ พราหฺมณา ดูราท่านพราหมณ์ฝูงประเสริฐ ช้างแก้วเกิดเป็นศรีเมืองให้ชาวสีพีสู่ด้าว กูพระบาทท้าวให้เป็นทาน เพื่อแลกเอายังผะหยา สัพพัญญุตตญารอันแวนยิ่ง พร้อมทุกสิ่งเครื่องประดับประดา บ่ขาดเขิน ข่ายคำมาตแก้วมณี ล้วนแต่ของดี ๆ ประดับเต็มตัวช้าง มีค่าอ้างแปดแสนคำ หตฺถินครา ช้างสารตัวขนาด บ่าจจักกดค่าได้ เฮายกให้เป็นทาน กับทั้งบริวาร มีหมอควญบ่น้อยได้ห้าร้อยเป็นประมาณ เฮาทานไปบ่ไว้ เพื่ออยากได้สัพพัญญู ก็มีแล อจฺฉริยา อันว่าอัศจรรย์ทั้งหลาย มีแผ่นดินไหวหวั่นสะท้านปั่นไปมา ในเวลาอันมหาสัตเจ้าไปแล้ว ยังช้างแก้วเป็นทานแท้ดีหลี ลภิตฺวา พราหมณ์ทั้งหลายได้แล้ว ยังช้างแก้วขี่หนีไปกลางเวียงไชสะภู่ พร้อมทั้งหลายหมู่บริวาร ไปสถานเบื้องทิศเหนือ เป็นทางเมือสู่เมืองกลิงคราช ตทา สิยํ ภึสนฺกํ ในกาลยามนั้น บั้นอัศจรรย์ทั้งหลายมวลควรพิลึกสะพึงกลัว หนังหัวพองยะเยือก ขำเขือกทั่วทั้งเวียง เสียงโกลาหนเกลื่อนก้อง ฟ้าสนั่นฮ้องระงมฝน คนทั้งเมืองแตกตื่น คีคลื่นล้มเต็มมรรคา ด้วยเหตุเทวดาเข้าบันดลให้ใจคนเคืองเคียด บังเบียดไท้ภูมี เพื่อจักให้หนีไปบวช สร้างผนวชเป็นสมณ์ อบรมเนกขัมมบารมีแวนยิ่งพร้อมทุกสิ่งมหาทานแล
ตทา ยามนั้นชาวเมืองเขาเห็นแล้วยังช้างแก้วปัจจัยวิเศษ อันพราหมณ์ต่างประเทศขี่หนีไป แลมีดังนั้น อาหํสุ ก็กล่าวว่า อมฺโภ พราหฺมณา ดูราพราหมณ์ทั้งหลายเอย อยํ หตฺถี ช้างนายกูตัวนี้แพงค่าตือตูบ่ได้ซื้อดอมไผตูหากขอเอาดายโดยเจตน์ อันพระยาเวสสันดรเจ้าหากประสาทให้เป็นทาน บ่ไซ่การอันชาวเมืองจักปาก ช้างแก้วหากเกิดกับบุญสมภาร เผิ่นให้ทาน ดั่งลือชาวเมืองจักมาเคืองเครียด ว่าแล้วเหยียดมือวี ให้คนหลีหนีจากหน้าช้างพราหมณ์อวดอ้างขี่หนีเมือ ออกประตูด้านเหนือบ่ช้า อ่วยหน้าสู่เมืองตน วันนั้นแล เตน วุตฺตํ เหตุดังนั้นบั้นคาถาพันธ์อันนี้ พระเจ้าชี้เทศนา แก่มหาสารีบุตรในจริยปิฎก อาจารย์เจ้ายกออกมาไขในสังคายนาว่า เมื่อพระเววสสันดรตนผ่านแผ่ว ให้ช้างแก้วเป็นทาน แลมีดั่งนั้น บั้นเทวดาเข้าบันดลหัวใจแห่งคนทั้งหลายหมายมีท้าวพระยาแลเสนามนตรี เสฏฐีแลทวยค้า คนกล้าพวกธนูหาญ นายหัตถีอัสสาจารย์ช้างม้า คนแก้วกล้าราชรถ บทจรเคียงเคียด พร้อมกันเมือส่อเสียด พระยาศรีสญชัย ว่า เทว ข้าแต่พระอยู่หัวเอยเป็นเจ้า ลูกมหาราชเจ้าพระยาเวสสันดร เฮ็ดดั่งลือ พระภูธรจึ่งให้ทานช้างแก้ว อันให้แล้วยังปรารถนา อันเป็นที่สักการะแห่งฝูงข้าเป็นช้างกล้าช้างหาญ เป็นช้างสารองอาจ เป็นดั่งเขาไกรลาสงางอนงาม เข้าสงครามบ่มีข้าเสิกจักต่อได้ เหตุไดพระเวสสันดรแก่นไท้ จึ่งเอาช้างฝูงข้าเป็นทาน ของควรมีมากเสื้อผ้าหลากนานา เงินคำตาแสนสิ่งมุกแก้วยิ่งอาหาร ทั้งข้าวเปลือกข้าวสารมีบ่ไฮ้ ควรจักให้เป็นทาน ดั่งลือมาให้ช้างตัวเป็นมุงคุล ให้มั่งมุลศรีสมบัติแก่บ้านเมืองเป็นทานดั่งนี้ ชื่อว่าการกระทำครองวินาส แก่ประชาราษฏ์แห่งสีพี ก็ข้านา มหาราชเจ้าจงให้ปัพพาชณียกรรมกระทำโทษแก่ลูกมหาราชโดยพลัน ถ้าพระจอมทันบ่กระทำตามโทษ ไพร่ฟ้าโสดทั่วทั้งเมืองเขามีความแค้นเคืองทุกถ้วนหน้า เที่ยงจักฆ่ามหาราชเจ้ากับลูกเต้าบ่สงกาก็ข้านา สญฺชยโย เมื่อนั้น บั้นพระยาบรมศรีสญชัยตนพ่อ ได้ฟังคำสับส่อแห่งชาวเมือง พระบุญเฮืองฮ้อนไหม้ คิดว่าเขาจักให้ลูกตนตาย พระสมฉายแผ่นหล้า เจ้ายอดฟ้าตอบชาวเมือง ว่าดูราสูทั้งหลาย สูอย่ามามุ่งหมายเพื่อจักฆ่า เจ้ายอดฟ้าพระยาเวสสันดร อันเกิดแด่อุทรแห่งกูพระราช แม้นห้างว่าเมืองจักวินาส กูบ่อาจจักฆ่าได้ แท้ดีหลี เหตุลูกกูบ่มีความผิดดั่งลือแลจักให้กูปลงชีวิตเสียคมอาวุธแลหอกดาบ ก็บ่าจจักกระทำกรรมอันเป็นบาปใส่ตัวตนแลนา อันหนึ่งลูกกูมีทานแลศีลอยู่ทุกเมื่อใจกว้างเพื่อเมตตาจิต บ่ให้ผิดคลองธรรมแห่งอริยเจ้า ทุกค่ำเช้าพร่ำเพ็งทานมีใจบานแจ้งจอดอยากฮู้ฮอดนีรพาน ดั่งลือไผจักหาญฆ่าได้ยังทานไท้ผู้มีธรรมนั้นจา
กัณฑ์ย่อยที่ ๕
เนื้อเรื่อง
ตํ สุตฺวา เมื่อนั้น บั้นชาวสีพีได้ยินวจนคดีแห่งพระบรมนาถ พวกอามาตย์กราบทูลสาส์น ว่า เทว ข้าแก่พระภูบาลตนแก่นเหง้า ลูกพระบาทบ่ควรฆ่าด้วยศาสตาอาวุธ โดยที่สุดแต่ผูกมัดก็บ่ควร ควรขับหนีให้ไปอยู่คีรีวงกต เป็นดาบสตามประเพณีติดต่อ อันท้าวพระยาก่อความผิด ควรแท้ก็ข้านา ตํ สุตฺวา ราชา พระยาบรมศรีสญชัยได้ฟังแล้ว พระตนแก้วจึงตอบถ้อยแก่ชาวเมือง ว่า ตุมเห อันว่าสูท่านทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเพียงขับหนี กูยินดีจักขับให้สูได้ตามความประสงค์ แลนา เท่าว่าด้วยมีแท้ขอให้ลูกเจ้าพระยาเวสสันดร ยังอยู่ในนครเสี้ยงราตรีพอฮุ่งเช้า สูชาวเจ้าจิ่งขับหนีให้พระภูมีได้สั่งสอนเมียและลูก ให้ถูกต้องอิ่มสำราญ พอประมาณเสี่ยงคืนนี้ ก่อนเทอญ นครา ชาวเมืองยอมให้ได้ ก้มขาบไหว้สาธุการ ตามคำพระองการขอไว้ พระบาทไทให้หนีไป มีแล สญฺชยโย พระยาสญชัยเฮืองราชพระบาทฮ้อนขุ่นเคือง ให้ชาวเมืองหนีไปแล้ว พระตนแก้วจึงให้ทันมา ยังเสนาผู้ฉลาดอาดให้แล้วยังกิจการไปกราบทูลสาส์น ตามอาการอันชาวเมืองเขาเคียงเครียดเขาบังเบียดไล่ขับหนี อยู่ราตรีเดียวเท่านั้นให้ลูกกูเจ้าพระยาเวสสันดรฮู้แจ้งเหตุทุกประการ อย่าให้นานสักหยาด บั้นอามาตย์ฮับคำพระบาทเจ้าใส่เหนือหัว ฮีบเมือแต่งตัวให้สมควรแก่ตนเป็นอามาตย์ จึงขึ้นไปสู่ปราสาทพระยาเวสสันดร เข้าไปเฝ้าพระภูธรตนอยู่เกล้า หมอบใกล้เจ้าเศร้าโสกา มีน้ำตาอันตกลงหยีหย่อย หยีหย่อย จักกล่าวถ้อยก็บ่เป็นคำแข็งใจจำทูลท้าว ผู้ผ่านด้าวจงกูนา อย่ามีคำโกธาแก่ตัวข้าเฒ่า เหตุจักเว้ากราบทูลการ กราบทูลข่าวสาส์นอันแสบฮ้อน บัดนี้ชาวเมืองข้อนขุ่นเคือง จักขับพระบุญเฮืองเสียจากพัดพากบุรีพอเสี้ยงราตรีฮุ่งเช้า ให้มหาราชเจ้าออกจากเมืองก็ข้านา ตสฺส วาจนํ สุตฺวา พระราชาไดฟังวจนะคดีเยื้องนั้น เจ้าจึ่งชั้นถามหายังโทสาเยื่องเขาเครียดบังเบียดให้ขุ่นทั้งเมือง ว่าดูราอามาตย์ เฮาพระบาทบ่ฮู้เยื่องความผิดทุจริตอันใดแห่งเฮาพระองค์ เป็นเหตุให้ชาวเมืองปลงใส่โทษ เฮาบ่กริ้วโกรธท่านจงแจ้งให้เฮาฟัง ต่อโทสังยังความผิดฮีบเล่าให้เฮาฟัง เที่ยวเทอญ
เมื่อนั้น บั้นอามาตย์ผู้ต่างตา กราบทูลโทสาอันชาวเมืองเขาเคืองเคียด บังเบียดให้เสียเมือง ว่า เทว ข้าแต่พระบุญเมืองนั่งเกล้า โทษพระราชาเจ้าบ่มี ชาวเมืองชั่งเหตุพระองค์ทานช้างแก้ว มีสิ่งเดียวเท่านั้นแล้วข้าเฒ่าไหว้สมภาร เมื่อนั้นบั้นพระภูบานเวสสันตราช พระบาทผู้ชื่นชมบาน อาห มีพระราชโองการอันองอาจว่า ดูราอามาตย์ ช้างแก้วหมู่เงินทองเข้าของบ่ไฮ้ เฮาพระบาทไท้ให้ทานไป ยังบ่ทันเต็มใจแห่งเฮาบุพพิตา เฮาอยากให้ชีวิตและเลือดเนื้อแลหัวใจ อันเป็นอัชฌัตติกะภายในอยู่ทุกเมื่อ เฮาบ่เบื่อยังทานแท้ดีหลี โทษเฮามีเพียงเท่านั้นบ่กินแหนง เฮาอยากให้ทานของแพง ๆ แลสิ่งแลเจ็ดฮ้อย อันเป็นทานพรายสุดพรายสร้อยแล้วจึงหนีไปในวันถ้วนสาม ท่านจงนำความงามอันนี้ ไปบอกแก่พวกนอกแลพวกใน ให้เขาเต็มใจอนุญาต แก่เฮาพระบาทเสี้ยงสามวัน ควรเทอญ ตํ สุตฺวา อามจฺจา เมื่อนั้นบั้นอามาตย์ผู้ฉลาดฮู้เยื่องการฮับปฏิญาณขานคำพระบาท จักไปประกาศแก่สีพี ให้ชาวบุรีงดไว้โดยดั่งพระบาทไท้ปรารถนา ก็ข้าแล โส เทวตา วิคฺคหิโต หุตฺวา ขณะนั้นบั้นเทวดาเข้าดลใจ ให้อามาตย์กราบทูลพระนงค์ไวบ่ช้าด้วยคำว่า เทว ข้าไหว้พระบาทไท้ผู้ทรงธรรม ชาวมืองจำใส่โทษหวังประโยชน์แก่ภูธร ให้ออกจากพระนครไปบวช สร้างพระนวชเป็นรัสสี อยู่ในเขาวงกตปัพพตคีรีใกล้ฝั่งแม่น้ำโกนติมาลานที ตามประเวณีแห่งท้าวพระยามีความผิดมาแต่ก่อน ก็ข้าแล ตสฺส วจนํ สุตฺวา พระยาเวสสันดรภูวนาถ ได้ฟังอามาตย์กราบทูลสาส์น มีใจชื่นบานฮอมฮ่อ ตั้งใจต่อบารมี สั่งให้อามาตย์ลาลงหนีเลิกแล้ว ให้ไปทันมายังนักการแก้วโดยพลัน พระจอมทันสั่งบ่ช้า ว่า ดูรานายนักการผู้ใหญ่ เฮามักใคร่ให้สัตตกมหาทาน แลสิ่งแลเจ็ดฮ้อย คือว่าช้าง ม้า ราชรถ ข้ายิง ข้าชาย โภชนะอาหารทั้งหลายแลสิ่งแลเจ็ดฮ้อย ท่านจงให้เรียบร้อยแต่เช้า ๆ กูจักเสด็จเข้าสู่โรงทาน ให้เสร็จการในวันหน้า อย่าให้ช้าเสียการท่านเอย คันพระองค์สั่งแล้ว อามาตย์แก้วผู้นักการ ฮับปฏิญาณกราบไหว้ ลาพระบาทไท้ด่วนจัดการ ก็มีแล โส เวสฺสนฺตาโร ส่วนดั่งพระภูธรเวสสันตราช ก็เสด็จยัวระยาดขึ้นสู่ปราสาทนางเทวี ฮ้องเฮียกนางมัทรีมานั่งใกล้ เจรจากล่าวเป็นวจนะคาถาว่า ยํ กญฺจิ มยา ทินฺนํ ดังนี้เป็นเค้า ดูราเจ้ามัทรีผู้ทรงโฉมเลอเลิศ ผู้ประเสริฐในสงสารเจ้าจงจัดแจงการหอมหับเก็บฝังไว้ยังทรัพย์สินอันกูพี่ให้ แลทรัพย์สมบัติอันเจ้าได้แต่เฮือนหลัง ก็พี่เทอญ เมื่อนั้นนางมัทรีได้ฟังวจนะคดีผัวแก้ว นางผู้ผ่านแผ่วสงสาร ทูลถามพระภูบาลท่านไท้ ว่าจักให้ข้าน้อยฝังไว้ในที่ใด พระจอมไตรชี้บอกว่าดูราเจ้ามัทรี ฝังอันใดแลจักดียิ่งกว่าทานให้แก่เจ้าผู้มีศีลหาบ่ได้ เจ้าจงหอมหบไว้ให้ยังทาน จักเป็นทรัพย์มีแก่นสารติดตามตนบ่คาคาด อันสองเจ้าอย่าประมาทแม่ผัวพ่อผัว เจ้าจงระวังตัวถนอมศักดิ์เลี้ยงลูกฮักเฮาทั้งสอง อันหนึ่งชายผู้ใดเป็นกษัตริย์ใจผูกมัดว่าจักเป็นผัว เจ้าจงระวังตัวชายผู้นั้นอย่าสองใจ คันกูพี่ไปจากเจ้า อย่าโศกเศร้ากังวล จงเตียมขนขวายเลี้ยงลูกตนทุกค่ำเช้า อย่าได้มีความโศกเศร้าอยู่สวัสดีก็พี่เทอญ เมื่อนั้น บั้นนางแก้วราชมัทรี ได้ยินคำบ่ดีท้าวกล่าว นางนงค์ท่าวเกิดสงสัย กินแหนงใจอดบ่ได้ นางฮ้องไฮ้กราบทูลถามว่า ข้าแด่พระอยู่หัวเอ่ยเจ้าข่อย โทษของข้าน้อยมีฉันใด พระจอมไตยแลมากล่าว อยุตฺตํ ยังถ้อยคำอันบ่สมบ่ควรแก่ผู้ข้า เจ้ายอดฟ้าจักจากข้าไปทางได ก็ข้าจา มหาสตฺโต เมื่อนั้นบั้นพระยาเวสสันดรกษัตริย์บอกประวัติตามอันมี แก่นางมัทรีนุชนาถด้วยอาทิบาทคาถาว่า ภทฺเท มยา หตฺถี ทินฺนา สิวิโย กุทฺธา ดั่งนี้เป็นเค้า ดูราเจ้ามัทรี ผู้โฉมดีแลล้วนลักษณะถ้วนพอตา สวนดั่งนคราขำเขือก เหตุเฮาพี่ได้ให้ช้างแก้วเผือกเป็นทาน พร้อมกันพาลใส่โทษ ว่ากูพี่นี้ทำฮ้อยโหดแก่สีพี พร้อมกันขับหนีบ่ให้อยู่ ในเมืองแก้วกู่ประเชชัย กูพี่ขอทุเลาไว้พอได้ทำบุญเสพช้อย ข้าวของแลสิ่งแลเจ็ดฮ้อยมากหลวงหลาย คือว่าช้างเจ็ดฮ้อย ม้าเจ็ดฮ้อย รถเทียมด้วยม้า ก็เจ็ดฮ้อย ข้ายิง ก็เจ็ดฮ้อย ข้าชาย ก็เจ็ดฮ้อย งัวอุสุภราช ก็เจ็ดฮ้อย แม่งัวนมก็เจ็ดฮ้อย กับทั้งเงินคำข้าวของแก้ว แหวนเสื้อผ้าเข้า น้ำโภชนะอาหาร โดยแต่ที่สุดแต่สุรา บ่ให้น้อย นับให้ได้เจ็ดฮ้อยทุกประการจักให้ทานวันหน้า แล้วพี่จักลาแจ่มเจ้าเข้าไพรสณ ในวันอันถ้วนเจ็ดก็พี่นา วนํ พาลมิคฺคยุตฺตํ ดูราเจ้ามัทรี ในคีรีป่ากว้าง ย่อมประกอบด้วยแฮดช้าง หมู่เสือสิงห์ สํสโย ชีวิตํ มยฺหํ ชีวิตแห่งเฮาพี่ก็บ่เป็นที่ไว้ว่างใจ แลนา ตมพวิราชปุตฺตี นางมัทรีศรีมทราช ฉลาดด้วยโวหาร กราบทูลสาส์นบ่น้อย ยามเมื่อผัวตกต่ำต้อยเสียใจ นางนงค์ไว้เป็นนักปราชญ์ ฉลาดเล้าโลมผัว ให้หายยังความกลัวแลโศกเศร้า ก้มเกษเกล้าวันทา ว่า กถํ นุ ภณสิ พระอยู่เหนือหัวเอยเจ้าข่อย คำอันนี้ข้าน้อยบ่เคยฟังแลนา เนโส ธมฺโม พระจอมหัวเป็นเจ้า พระปิ่นเกล้าเข้าดงได นางมัทรีจักตามไปที่นั้น บ่ให้พระบาทดั้นคั่วตนเดียว นางมัทรีจักตามไปในไพรเขียวเป็นเพื่อน ยังดีกว่าพัดพรากจากพระเมือง คำเคืองใจระห้อยแหนงว่าให้ข้าน้อยนี้โดดใส่กองไฟ ดับศูนย์ไปเสียชาติดีกว่าพัดพรากจากผัวขวัญ
กัณฑ์ย่อยที่ ๖
เนื้องเรื่อง
ยถา อรญฺญกํ นาคํ พระเหนือหัวเอยเจื่องเจ้า แม่ช้างเดินเลียข้างตีนด้อย เดินตามฮอยไพศาลอันประเสริฐ อันนั้นแลฉันมีฉันใด อหํ อันว่ามัทรีนุชนาถ จักอุ้มเอาลูกน้อยนาถแล่นตามหลัง ในวะนังป่าเถื่อนเป็นเพื่อนเจ้าผัวขวัญ บ่รบกวนพระองค์ให้ลำบาก บ่ให้เจ้าได้ยาก ด้วยการหย่างแลการเดิน แม่จักนอนตามเนินแลป่าหญ้า นางกำพร้าหากจักค่อยเพียรไป บ่ให้เป็นวิสัยแห่งผู้หญิงเลี้ยงยาก บ่ให้ลำบากคือแม่ช้างย่างกลางไพรนั้นแลนา
เอวํ วตฺวา สวนดั่งนางราชมัทรีกล่าววจนะคดี ด้วยประการดั่งนี้แล ปุน เมื่อภายลุน นางก็พรรณาย่องยอป่าหิมพานต์ มีอาการดั่งนางเคยเห็นมาแต่ก่อน นางน้อยอ่อนกล่าวรำพัน ยังหิมวันเป็นประเทศถวายแก่พระเวสสันดรพระภูธรผัวแก้ว ให้มีใจผ่องแผ้วชื่นชมบาน ด้วยประการอันยิ่ง จึงกล่าวคาถาว่า อิเม กุมาเร ปสฺสนฺโต ดั่งนี้เป็นเค้า ข้าไหว้เจ้าสามี โก ปสฺสนฺโต เจ้ากูเดินคีรีกลางเถื่อน จักได้เห็นลูกแก้วเป็นเพื่อนทั้งสองแลนา ปญฺชเก ปิยภณิเน สองกุมารอ่อนน้อยเสียงใส คือดั่งเสียงเรไรแลแมลงง้วง ฮ้องถี่ทางเขาเขียว สองสีเที่ยวเก็บดอก สองพี่น้องหยอกเชิ่งกัน มาลธรา อันว่าสองบัวผันทัดทรงดอกไม้ ขับฟ้อนใกล้อาศรม รมณีเย เป็นที่ภิรมย์ ชมชื่นยินดีมาก เมื่อไดมหาราชเจ้าได้เห็นแล้ว ยังลูกแก้วฮ่วมดวงใจ ขับเสียงใสมีหมี่ก้อง คือดั่งเสียงฟ้าก้องเมืองสวรร์ น สริสฺสสิ พระจอมทันนั่งเกล้า จักชื่นชมลูกเต้าอยู่กลางไพร บ่ฮ้างว่าจักระนึกคึดถึง สาวสนมในเวียงราช บ่ฮ้างว่าคึดถึงผาสาทแก้ววิไชยนต์ ก็ข้านา ยทา ทกฺขสิ มาตงฺคํ ประการหนึ่งมหาราชเจ้าจักได้เห็นยังช้างชื่อว่ามาตังคะกะกูลเป็นช้างมุงคุลตัวบ่เศร้า อายุ 60 ขวบเข้าจึงถ้อยกำลัง มีหมู่ช้างเดินตามหลังกลางเถื่อน ใหญ่น้อยเพื่อนพังพาย เดินมากายทุกค่ำเช้ามหาราชเจ้าเห็นแล้วจักหายความโศกเศร้าชื่นชมบาน บ่ฮ้างว่าจะคึดถึงพายสารในเวียงราช บ่ฮู้ว่าจักคิดถึงอามาตย์เฝ้าเวียงหลวง อุภโต วนวิกาเล บ่ฮ้างว่าจักมีต้นไฮแลมณีโคตร ไม้แก้วโกษกิษณา มีบุบผาหลายหมู่ ตกสร้อยอยู่แกมใบ เมื่อเดินไป มหาราชเจ้าจักได้เห็นเนื้อฮ้ายแลเสือหมี ราชสีห์แลงัวเถื่อน ควายล้านเลื่อนกวางทราย มีหลวงหลายเป็นหมู่ ปญฺจมา ลินิอาคตํ อ่วยหน้าสู่มุจลิน ลงดูดกินยังน้ำ แทบฝั่งท่ามุจลิน ในเวลาเย็นบ่ขาด มหาราชเจ้าเห็นแล้วก็จักมีใจผ่องแผ้วชื่นชมบาน บ่ฮ้างว่าจักคึดถึงบริวารในเวียงราช บ่ฮู้ว่าคึดถึงอามาตย์หมู่เสนา แท้ดีหลี โสสฺสสิ มหาราชเจ้าจักได้ฟังยังเสียงหมี่ก้องแห่งแม่น้ำ อันตกต้องตาดตีนผา กับทั้งเสียงกินรีกินราเพื่อนฟ้อนเหยาะเหยื่อนย้อนแล่นไปมา สกุณานํ ประการ 1 มหาราชเจ้าจักได้เห็นนกทั้งหลายคือว่านกหงสาบินอากาศนกเขียวผาดบินสูงนกยูงกางปีกฟ้อนนกจักพากย้อนเหยี่ยวหาง โก้นโดกวางเสียงก้อง นกเป็ดป่องฮ้องเสียงหวาน พระภูบาลจักชมซื่น บ่ฮ้างว่าจักได้ไปที่อื่นจากพงไพร ก็ข้านา ยถา อกฺขาสิ เหมนฺเต ประการหนึ่ง มหาราชเจ้าจักได้เห็นยังหมู่ไม้ทั้งหลาย มีประการต่าง ๆ ปุปฺผธรา อันเป็นดอกแลเป็นหมาก มีทุกภาคทั้ง 3 ฤดู ปนฺนสา คือว่าไม้หมากขนุนลูกใหญ่ มีลูกไต่ตามสาขา อสตฺถา ไม้ป่าแป้งหน่วยเป็นพวง ไม้นิโครธหลวงชื่นช้อย ไม้หมากขวิดใหญ่น้อยแกมกัน ใบตีบตันคีงค้อม อวยอ่อนน้อมไปมา ในดงหนาถ้วนถี่ ก้านค้อมคี่ในไพร ยายยั้งไปเป็นหมู่ มหาราชเจ้าเห็นแล้วบ่ฮ้างว่าจักคิดเถิงหมู่วงสา ทั้งเสนาแลอามาตย์ ทั้งผาสาทแก้ววิไชยนต์ สนุกอยู่กับลูกเมียตนในป่ากว้าง ยู้ถางสร้างผนวชจำศีล ก็ข้าแล เอวํ มทฺที เหมวนฺตํ วณฺเณสิ ภิกฺขเว ดูราภิกขุสงฆ์ อันทรงศีลามรรยาท ส่วนดั่งนางแก้วราชมัทรี ผู้มีคลองวัตรดีบ่ต่ำค้อย นางนาถน้อยคอยลำพัน ในหิมวันประเทศถวายแก่เจ้าพระยาเวสสันดร เหมือนดั่งนางโคจรไปเห็นแลไปฮู้ เอตฺตกาหิ คาถาหิ ด้วยคาถาทั้งหลายฮ้อยสามสิบสี่พระคาถา หิมวณฺณนา นิฏฺฐิตา ก็เสด็จบรบวนควรท่อนี้ก่อนแล